วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคไข้กาฬหลังแอ่น


 โรคไข้กาฬหลังแอ่นคือโรคติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง “ไข้กาฬหลังแอ่น” ชื่อโรค “ไข้กาฬ” นั้นมาจากความรุนแรงของโรค ซึ่งทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้อย่างรวดเร็ว  ส่วนคำว่า“หลังแอ่น”นั้นก็เนื่องจากลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้ว อาจมีการชักเกร็ง หลังแข็งแอ่น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง

 โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า (Neisseria meningitidis) แต่กลุ่มที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยได้แก่ชนิด group B และ C  ในคนปกติร้อยละยี่สิบสามารถตรวจพบเชื้อนี้ในคอโดยที่ไม่มีอาการ แต่มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อนี้เข้ากระแสเลือด และทำให้เกิดโรค โดยมากจะเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และช่วงอายุ 15-24 ปี  อันตรายถึงกับเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิต

การติดเชื้อมีได้ 2 ลักษณะคือ
1.การติดเชื้อธรรมดา
2.เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น
ผื่นเป็นจุดแดง เหมือนไข้เลือดออก มักจะพบตามแขน ขา ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น ผื่นจะไม่จางหาย


ผื่นโรคไข้กาฬหลังแอ่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จางผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่าผื่นของไข้เลือดออก





      ในรายที่รุนแรงผื่นจะรวมตัวกันเป็นปลื้นดังรูป


ระยะฝักตัวของโรค

ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค ประมาณ3-4 วันโดยเฉลี่ย 1-10 วัน ระยะติดต่อ

เชื้อนี้สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นตราบที่ยังพบเชื้อนี้อยู่ แต่หลังจากให้ยา 24 ชั่วโมงแล้วจะไม่ติดต่อ

อาการ

ผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น จะมีอาการและอาการแสดง คือ



1.)อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีอาการเหมือนผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ได้แก่

    มีไข้สูงทันที
    ปวดศีรษะมาก
    คอแข็ง
    ซึม
    ชัก

2).อาการทั่วตัวจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด อาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ คือ

    อ่อนเพลีย
    คลื่นไส้อาเจียน
    ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดข้อ

วิธีการควบคุมและป้องกันโรค 

1).หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองน้ำมูกหรือน้ำลาย จากปากหรือจมูกของผู้ป่วย

   ไม่ควรเข้าไปอยู่ในที่ชุมชนแออัดหรือผู้คนอยู่กันอย่างหนาแน่นเป็นเวลานาน
    เพราะอากาศถ่ายเทไม่  สะดวก ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อจากผู้ที่เป็นพาหะได้ง่าย
    ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

2).พิจารณาให้วัคซีนป้องกันโรค บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Neisseria meningitides สูง เช่น บุคคลที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจน์ หรือนักท่องเที่ยวผู้ที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้และจะอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานาน เป็นต้น วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถป้องกันการติดเชื้อ Neisseria meningitides ได้แค่บางกลุ่ม




อ้างอิง

http://www.siamhealth.net/
http://blog.eduzones.com/
http://www.oknation.net/
http://healthy.in.th/